วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การสร้างแบบกระโปรงเบื้องต้น

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แบบกระโปรงเบื้องต้นก่อน


สำหรับแบบกระโปรงเบื้องต้นนั้น เป็นการสร้างต้นแบบ ไม่สามารถนำแบบดังกล่าวไปตัดได้ แต่ต้องนำไปดัดแปลงก่อน เช่น ถ้าเราต้องการทำกระโปรงทรงบาน เราต้องนำแบบกระโปรงเบื้องต้น ไปดัดแปลงอีกครั้งก่อนที่จะนำไปใช้ได้ค่ะ


สำหรับการสร้างแบบ pattern นั้นอุปกรณ์มีดังนี้
1.กระดาษวาดแบบ pattern
2.ไม้บรรทัดยาว
3.ไม้บรรทัดนกแก้ว
4.ดินสอ ,ยางลบ


เริ่มการสร้างแบบ ให้เริ่มต้นจุดที่ 1 ในการสร้างแบบคือ ด้านขวา-บน ของกระดาษ(ในที่นี้เราจะเริ่ม จากจุดที่ 1 และจะลำดับเลขไปเรื่อยๆ พร้อมกันนี้เก่จะมีคำอธิบาย ตัวเลข แต่ละจุดไปค่ะ)


รอบเอว 68 ซม.
สะโพกบน 90 ซม.
สะโพกล่าง 94 ซม.
ความยาวกระโปรง 60 ซม.


เส้น 1-2 เส้นความยาวกระโปรง ในที่นี้ใช้ความยาวกระโปรงที่ 60 ซม. ค่ะ
เส้น 2-3 เส้นชายกระโปรง  
สูตร หาเส้นชายกระโปรง = สะโพกล่าง + (2-3 ซม.)
                                                   2
                                        = 94+3
                                               2
                                        = 48.5 ซม.
เส้น 1-4 ยาวขนานกับเส้น 2-3 แล้วลากเส้น 3-4
เส้น 1-5 ระยะสะโพกบน  วัลงมา 10 ซม.
เส้น 1-6 ระยะสะโพกล่าง วัลงมา 20 ซม.
เส้น 4-7 = 1-5
เส้น 4-8 = 1-6
รูปโครงส้รางกระโปรง (ใช้กล้องถ่าย อาจจะดูเบี้ยวไปหน่อยนะค่ะ)
เริ่มสร้างกระโปรงแผ่นหน้า
วิธีหา  1/4 รอบสะโพกล่างแผ่นหน้า
6-9    สะโพกล่าง+(เผื่อหลวม2ถึง3 ซม.)+(1ถึง1.5 ซม.)
                                  4
         = 94+3 = 97 = 24.25+1 = 25.25 ซม.
               4         4
เส้น 6-9 = 25.25 ซม.
เส้น 1-10 ,2-11 = 6-9 
ลากเส้น 10-9-11 
วิธีหา หาเส้น1/4 รอบเอวชิ้นหน้า
1-12 = รอบเอว+1+เกล็ด 3 ซม.
                4 
        =    68  +1+3 = 21 ซม.
               4         
ลากเส้น 1-12 = 21 ซม.
ลากเส้นไล้โค้ง จากเส้น 12-9 โดยใช้ไม้บรรทัดนกแก้วช่วยในการวาดเส้นไล้โค้ง
วิธีหา หาเกล็ดที่ 1
1-13 = เอวที่หาได้ = 21= 7  แล้วลากเส้น 1-13 = 7 ซม.
                         3             3
13-14 ความกว้างเกล็ด 1.5 ซม. แล้วแบ่งครึ่ง 13-14 เป็นจุด 15
15-16 ลากความยาวเกล็กลงมา 10 ซม. แล้วลากเส้น 13-16,14-16
วิธีหา หาเกล็ดที่ 2
14-17 วัดหาก 3.5 ซม.
17-18  ความกว้างเกล็ด 1.5 ซม. แล้วแบ่งครึ่ง 17-18 เป็นจุด 19
19-20  ลากความยาวเกล็กลงมา 10 ซม. แล้วลากเส้น 17-20,18-20


เริ่มสร้างกระโปรงแผ่นหลัง
วิธีหา  1/4 รอบสะโพกล่างแผ่นหล
8-9   สะโพกล่าง+(เผื่อหลวม2ถึง3 ซม.)-(1ถึง1.5 ซม.)
                                  4
         = 94+3 = 97 = 24.5-1 = 23.25 ซม.
               4         4         
เส้น 8-9 = 23.25 ซม.
เส้น 4-21 = 1 ซม. เป็นระยะการใส่ซิป

วิธีหา หาเส้น1/4 รอบเอวชิ้นหลัง
21-22 = รอบเอว-1+เกล็ด 4 ซม.
                  4 
          =    68  -1+4 = 20 ซม.
                 4         
เส้น 21-22 = 20 ซม.
ลากเส้นไล้โค้ง จากเส้น 22-9 โดยใช้ไม้บรรทัดนกแก้วช่วยในการวาดเส้นไล้โค้ง

วิธีหา หาเกล็ดที่ 1
21-23 = เอวที่หาได้ = 20= 6.67  แล้วลากเส้น 21-23 = 6.7 ซม.
                           3             3
23-24 ความกว้างเกล็ด 2 ซม. แล้วแบ่งครึ่ง 23-24 เป็นจุด 25
25-26 ลากความยาวเกล็กลงมา 14 ซม. แล้วลากเส้น 23-26,24-26
วิธีหา หาเกล็ดที่ 2
24-27 วัดหาก 3.5 ซม.
27-28  ความกว้างเกล็ด 2 ซม. แล้วแบ่งครึ่ง 27-28 เป็นจุด 29
29-30  ลากความยาวเกล็กลงมา 12 ซม. แล้วลากเส้น 27-30,28-30


รูปกระโปรงมาตรฐาน

วิธีการปรับเส้นเอว
1. เส้นเอวชิ้นหน้าชิ้นหลัง วัดลงมา 1-2 ซม.
2. เส้นสะโพกด้านข้าง ชิ้นหน้า ชิ้นหลัง วัดลงมา 0.5-1 ซม.
3. ลากเส้นไล้โค้งเอว ชิ้นหน้าชิ้นหลัง
4. การตรวจสอบว่าเอวที่เราทำเสร้จแล้วนั้นสามารถนำมาเข้าขอบเอวได้พอดี โดยใช้สายวัด วัดเส้นเอว ชิ้นหน้าและชิ้นหลัง ให้ได้เท่ากับ ครึ่งรอบเอวชิ้นหน้าและชิ้นหลัง+เลขเผื่อเข้าเอวอีก 0.5 ซม.


ดังนั้น                              68  = 34 +0.5 = 34.5 ซม.
                                        2
หมายเหตุ
-กรณีที่เราวัดเส้นเอวชิ้หน้าและชิ้นหลังแล้วได้ไม่เท่ากับ 34.5 ซม. ให้เราปรับเส้นให้ได้
-การวัดเส้นเอวไม่รวมเส้นเกล็ด และ เส้นซิป


รูปกระโปรงมาตรฐานที่มีการปรับเส้นเอว



















วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นการวัดตัว

การเตรียมตัวของผู้ถูกวัดตัว
- การสวมเสื้อผ้าเป็นชุดที่เข้ารูป อย่าใส่เสื้อหลวม หรือเสื้อฟองน้ำ กางเกงยีนต์
- ใส่ชุดชั้นในที่กระชับพอดี และเป็นตัวที่ใส่ประจำ
- ระหว่างการวัดตัว ผู้ถูกวัดตัวให้ยืนตรงท่าปกติ อย่าก้มๆ เงยๆ และอย่าเขม่วท้อง


เริ่มหาจุดเองก่อนโดยนำเชือกมาผูกไว้ที่เอว โดยเอวจะเป็นส่วนที่คอดที่สุดของลำตัว (ตอนที่ไปเรียนคุณครูเอาเชือกมาผูกที่เอวให้เก๋เอง สำหรับการผูกเอวแน่นพอสมควร เชือกจะต้องไม่เลื่อนขึ้นลงได้ และสังเกตว่าเชือกจะอยู่เหนือสะดือมาเล็กน้อย


ตำแหน่งวัดตัว
1.รอบคอ ใช้สายวัดโอบรอบไปตามรอบคอ วัดตรงฐานคอล่าง วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
2.รอบอก ใช้สายวัดโอบรอบไปตามรอบอก  วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด 
3.รอบเอว ใช้สายวัดโอบรอบไปตามรอบเอว วัดส่วนที่คอดที่สุดของเอว วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
4.รอบสะโพกบน จากจุดเอวด้านข้าง วัดลงมา 10 ซม.แล้วโอบสายวัดไปตามรอบสะโพกบน  วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
5.รอบสะโพกล่าง  จากจุดเอวด้านข้าง วัดลงมา 20 ซม.แล้วโอบสายวัดไปตามรอบสะโพกล่าง วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
6.ยาวหน้า วัดจากปุ่มคอหน้า ถึงจุดเอวใต้เส้นเชือก 
7.อกห่าง วัดจากจุดยอดอกด้านซ้าย ถึงยอดอกด้านขวา หรือ ยอดอกด้านขวา ถึงยอดอกด้านซ้าย
8.อกสูง วัดจากปุ่มคอหน้า ถึงจุดยอดอกข้างใดข้างหนึ่ง
9.ยาวหลัง วัดจากปุ่มคอหลัง ถึงจุดเอวใต้เส้นเชือก
10.บ่าหลัง วัดจากซอกแขนซ้าย ถึงซอกแขนขวา หรือ ขวาไปซ้าย (ด้านหน้า)
11.บ่าหน้า วัดจากซอกแขนซ้าย ถึงซอกแขนขวา หรือ ขวาไปซ้าย (ด้านหลัง)
12.ไหล่กว้าง 
13.ตะเข็บไหล่ ,ไหล่ซีก วัดจากข้งคอหน้าถึงปุ่มไหล่ ด้านใดด้านหนึ่ง
14.รอบรักแร้ ใช้สายวัดสอดเข้าไปที่รักแร้ วัดผ่านซอกบ่าหน้า ซอกบ่าหลัง แล้วมาบรรจบกันที่ปุ่มไหล่ วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
15.รอบต้นแขน วัดรอบลำแขนช่วงบนชิดแนวรักแร้ สายวัดตั้งฉากกับลำแข วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
16.รอบข้อศอก วัดรอบลำแขนช่วงกลาง ตรงแนวพับข้อศอก โดยที่งอแขน วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
17.รอบข้อมือ วัดรอบข้อมือ  วัดให้พอดี โดยใช้นิ้วชี้สอด
18.ความยาวแขน วัดจากปุ่มไหล่ถึงความยาวแขนที่ต้องการ
กรณี ทำเสื้อแขนยาว (โดยที่งอแขน)
-ให้วัดจากปุ่มไหล่ถึงข้อศอก
-และวัดจากข้อศอกถึงข้อมือ
19.รอบปลายแขน วัดให้พอดี หรือตามต้องการ
20.ความยาวเสื้อ วัดจากจุดข้างคอหน้า ลงมายาวตามต้องการ
21.ความยาวกระโปรง วัดจากจุดเอวลงไปความยาวตามต้องการ